วันที่ 12 เมษายน 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้จัดงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 1/2566 (ชื่อเดิม Analyst meeting) โดย “ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท., “สุรัช แทนบุญ” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. และ “สักกะภพ พันธ์ยานุกูล” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. ซึ่งมีนักวิเคราะห์จากหลากหลายสถาบันเข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่พรรคการเมืองหาเสียงในช่วงนี้ โดยชูนโยบายประชานิยมนั้น ระบุว่า ในช่วงโควิด-19 จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่อนคลายและต้องการแรงส่งจากทั้งภาคนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง จึงเห็นนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ร่วมทำงานสอดประสานกัน แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีจึงเริ่มเห็นนโยบายการคลังและนโยบายด้านการเงินเริ่มถอนคันเร่งออก ดังนั้นในอนาคต เพื่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจในภาพรวม การประสานนโยบายที่ดี จะต้องทำงานที่สอดประสานกันเหมือนเช่นที่ผ่านมา
“ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยต้องได้รับแรงส่งจากนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ในช่วงต่อไปเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งของตัวเองค่อนข้างดี จึงถอนคันเร่งทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง คงต้องดูว่านโยบายรัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไร หลักๆ ในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจควรประสานกันระดับหนึ่ง”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายปิติ ยังกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับจุดสูงสุดที่ระดับใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ เพราะการดำเนินนโยบายการเงิน คือการมองไปในระยะข้างหน้า ต้องดูแนวโน้มคาดการณ์อนาคตกับข้อมูลใหม่ที่มีว่าสอดคล้องกันอยู่หรือไม่ และต้องรักษาความเสี่ยงเงินเฟ้อต่อไปในอนาคตด้วย
ส่วนกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำเกินไปว่าอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ และเป็นการสะสมความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว นโยบายการเงินในระยะต่อไป จึงควรคำนึงถึงระดับอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่เหมาะสมด้วย ยืนยันว่า หากเศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ดุลยภาพ หรือ ศักยภาพ 3-4% และอัตราเงินเฟ้อกลับเข้าอยู่ในกรอบ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ควรติดลบ โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ลดการติดลบของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลงได้ ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ -1%
นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามที่ประเมินไว้ และเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงไตรมาส 2 ปี 66 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับตัวลดลง แต่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง โดยอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงจาก แรงกดดันด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเผชิญภาวะต้นทุนสูงต่อเนื่อง และอาจมีต้นทุนบางส่วนที่ยังไม่ได้ส่งผ่านในช่วงก่อนหน้า รวมถึงต้นทุนบางประเภทยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะราคาพลังงานในประเทศ
“ข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ราคาอาหารสำเร็จรูปยังปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ตามต้นทุนที่ยังอยู่ในระดับสูง และยังมีสินค้าและบริการบางส่วนที่ยังไม่ได้ส่งผ่านต้นทุนในช่วงก่อนหน้า ดังนั้นต้องติดตามแรงกดดันด้านอุปสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อาจเอื้อต่อการส่งผ่านต้นทุนในระยะต่อไป”
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. ระบุว่า การส่งออกไทยในปีนี้ยังมองมูลค่าติดลบ 0.7% และได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว คาดว่าน่าจะเริ่มทรงตัวในครึ่งปีหลัง น่าจะเริ่มทยอยฟื้นตัวได้หลังจากนั้น ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ที่ให้เศรษฐกิจโลกที่ 2.8% มองว่าไม่ได้แย่ ภาพรวมตัวเลขไม่ได้ต่างกันมากกับ ธปท.