ปัจจุบันภัยทางการเงินมักมาในหลากหลายรูปแบบ โดยมิจฉาชีพเปลี่ยนแปลงวิธีไปตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะแอพพลิเคชั่น หลอกให้คลิกลิงก์ ใช้ผ่าน SMS บนมือถือให้หลงเชื่อ ซึ่งจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินโดยใช้บัญชีแฝงของผู้อื่นที่เรียกว่า “บัญชีม้า”
เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้จัดพูดคุยกับสมาคมธนาคารไทย ถึงแนวทางแผนรับมือภัยทางการเงินของภาคธนาคาร ในเรื่องมุมมองของภาคธนาคารที่ดูแลบัญชีเงินฝากของประชาชนโดยตรงนั้น มีแผนรับมือและป้องกันภัยจากมิจฉาชีพทางการเงินอย่างไรคำพูดจาก ทดลองเล่น
น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร แบงก์ชาติ ได้พูดคุยกับนายวรุณ กาญจนภู รองเลขาธิการสมาคมธนาคารไทย โดยส่วนหนึ่งของการสนทนา ได้ระบุว่า ขณะนี้สมาคมธนาคารไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น เพื่อจัดการกับปัญหาบัญชีม้าอย่างจริงจัง
โดยต้องการผลักดันกฎหมายที่ให้ธนาคารดูแลลูกค้าได้เร็วขึ้น เช่น ในต่างประเทศหากมีคนโทรฯ แจ้งตำรวจ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ธนาคารรับทราบและสามารถระงับจัดการได้รวดเร็ว แม้ปัจจุบันในไทยจะมีให้แจ้งความออนไลน์ในเรื่องนี้ได้แต่ก็ยังต้องใช้เวลากรอกข้อมูล ซึ่งกว่าจะตอบกลับใช้เวลานานคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
“สมาคมธนาคารไทยพยายามผลักดันให้มีเกณฑ์อะไรบ้างที่จะให้ลูกค้าแจ้ง ถ้าลูกค้าแจ้งตามลำดับขั้นตอน 1 2 3 4 ก็อาจทำให้กระบวนการรวดเร็วขึ้น แต่ธนาคารจะไม่สามารถระงับอายัดได้ทันที เพราะไม่ใช่เจ้าของเงิน”
ทั้งนี้ที่ผ่านมาธนาคารมีกระบวนการเปิดบัญชีเงินฝากเป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่ต้องให้ธนาคารรู้จักเจ้าของบัญชี เป็นการพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือทำเควายซีตามระดับความเสี่ยงลูกค้า ซึ่งปัญหาของบัญชีม้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำ รายได้ไม่ได้มาก แต่พนักงานธนาคารที่รับเปิดบัญชีไม่มีทางรู้ว่าเปิดบัญชีม้าหรือไม่ เพราะบุคคลที่มาเปิดบัญชีเป็นตัวจริง ข้อมูลจริง แม้จะให้พนักงานธนาคารแจ้งลูกค้าตอนเปิดบัญชีแล้วว่า หากเปิดบัญชีม้าจะมีโทษตามกฎหมาย แต่หากลูกค้าที่ไม่มีรายได้นำไปขายเป็นบัญชีม้า จะจัดการอย่างไร จึงอยากให้จัดการตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งธนาคารทำฝ่ายเดียวไม่ได้
ขณะเดียวกันหากจะให้พนักงานธนาคารไปคัดกรองว่า บุคคลนี้จะนำบัญชีไปขายก็คงยาก โดยปกติธนาคารจะมีการติดตามดูแลบัญชีลูกค้า เช่น ลักษณะต้องสังสัยบัญชีม้าที่ยังไม่นำมาก่อเหตุ คือเปิดบัญชีแล้วอาจไม่มีความเคลื่อนไหว จะประกอบข้อมูลกับอาชีพ รายได้ เปิดกี่บัญชี เยอะเกินไปหรือไม่ เคลื่อนไหวเป็นอย่างไร จากนั้นธนาคารจะต้องรายงานบัญชีต้องสงสัยกับ ปปง. และธนาคารจะทำเควายซีเชิงลึก คือ ระงับช่องทางการใช้บัญชีนั้น และขอให้ลูกค้ามาพบที่สาขา ถ้าหากเป็นบัญชีม้า บุคคลนั้นก็ไม่กล้ามา ซึ่งอนาคตจะส่งข้อมูลให้ตำรวจด้วย เผื่อเป็นประโยชน์ต่อคดี
นายวรุณ กล่าวต่อว่า นอกจากบัญชีม้าแล้ว ภัยการเงินการหลอกลวงที่เริ่มระบาดช่วงนี้คือสลิปปลอม ซึ่งในไทยมีการใช้ธุรกรรมการเงินออนไลน์สูง หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีมิจฉาชีพเข้ามา โดยผู้ใช้ต้องสังเกต ตรวจสอบให้ดี อย่าหลงเชื่อง่ายๆ โดยยอมรับว่าในโลกเทคโนโลยี มิจฉาชีพมักจะก้าวนำเราไปหนึ่งก้าว วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อคือ การใช้เอสเอ็มเอสแจ้งเตือนรายการธุรกรรม หรือตรวจสอบก่อนว่าเงินเข้าบัญชีหรือไม่ หรือร้านค้าอาจสแกนคิวอาร์โค้ดที่สลิปจากโมบายแบงก์กิ้งว่าสลิปเป็นของจริงหรือไม่
“เรื่องความร่วมมือป้องกันการหลอกลวง น่าจะเรื่องวาระแห่งชาติ ทุกคนพูดได้ ไม่มีหน่วยงานไหนทำได้หน่วยงานเดียว ต้องร่วมมือทุกภาคส่วน ธปท.กับสมาคมธนาคารไทยคุยกันประจำ ดูแลระบบปฏิบัติการ มีอะไรต้องปรับปรุงเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น โมบายแบงก์กิ้ง วิธีเปิดบัญชี เพิ่มความปลอดภัยอย่างไร ธปท.คุยสมาคมใกล้ชิด ส่วนกฎหมายที่ขาดอยู่ ถ้าเป็นอำนาจ ธปท.ก็จะผลักดันให้ ขณะที่ที่กระทรวงดีอีเอส ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารเตือนภัย เช่น เว็บปลอม เอสเอ็มเอสปลอม การผลักดันกฎหมาย กสทช. เครือข่ายโทรศัพท์ ตอนนี้จำกัดจำนวนซิมต่อ 1 คนไม่เกิน 5 ซิม แต่อยากเห็นคือ ทำเควายซี ขั้นตอนการลงทะเบียนซิม เพื่อให้ทราบเจ้าของซิมที่แท้จริง”